วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พิจิตร

ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ แข่งเรือยาวประเพณี พระเครื่องดีหลวงพ่อเงิน เพลิดเพลินบึงสีไฟ ศูนย์รวมใจหลวงพ่อเพชร รสเด็ดส้มท่าข่อย ข้าวเจ้าอร่อยลือเลื่อง ตำนานเมืองชาละวัน

จังหวัดพิจิตรตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน่านทางตอนล่างของภาคเหนือ ระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก ตัวเมืองมีแม่น้ำน่านกับแม่น้ำยมไหลผ่าน ชื่อเมือง “พิจิตร” นั้น มีความหมายว่า “เมืองงาม”

จังหวัดพิจิตรเป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และในศิลาจารึกหลักที่ 8 ของพระยาลิไท ที่เรียกเมืองนี้ว่า “เมืองสระหลวง” โดนขณะนั้นมีสถานะเป็นหัวเมืองเอกของกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมืองนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองโอฆบุรี” ซึ่งมีความหมายว่า “เมืองในท้องน้ำ” และเป็นที่ประสูติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งกรุงศรีอยุธยา

ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมืองพิจิตรเป็นเพียงเมืองขนาดเล็ก มีเจ้าเมืองปกครองเช่นเมืองอื่นๆ เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้ย้ายเมืองพิจิตรมาตั้งที่บ้านคลองเรียง ซึ่งเป็นคลองขุดใหม่ เพราะขณะนั้นแม่น้ำน่านตื้นเขินมากแล้ว ต่อมาคลองเรียงจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำน่านไป

ปัจจุบันบริเวณเมืองพิจิตรเก่ายังคงมีโบราณสถานตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยอยุธยาปรากฏให้เห็นอยู่หลายแห่ง และจังหวัดพิจิตรยังเป็นถิ่นกำเนิดของนิทานพื้นบ้านเรื่อง “ไกรทอง” อันโด่งดังด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น