วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553




    1 พ.ย  2553 - 31 ม.ค 2554


ทุ่งทานตะวันจังหวัดลพบุรีมีการปลูกทานตะวันมากที่สุดในประเทศไทย คือ ประมาณ 200,000 - 300,000 ไร่  ดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน - มกราคม ทานตะวันเป็นพืชทนแล้งเกษตรกรนิยมปลูกทดแทนข้าวโพด เมล็ดทานตะวันมีสารอาหารที่มีคุณค่า นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหาร หรืออบแห้ง เพื่อรับประทาน หรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และยังสามารถเลี้ยงผึ้งเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย จึงทำให้ได้ผลผลิต คือ น้ำผึ้งจากดอกทานตะวันอีกทางหนึ่ง   
แหล่งปลูกทานตะวันกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล พื้นที่ปลูกเป็นจำนวนมาก ได้แก่ บริเวณเขาจีนแล ใกล้วัดเวฬุวัน ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง


แนะนำทุ่งทานตะวันที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม
1.ทุ่งทานตะวันคุณจำปี อยู่บนทางหลวงหมายเลข 3017(เส้นทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) อยู่ติดถนน เห็นชัดเจนทางด้านซ้ายมือ
2.ทุ่งทานตะวันบ้านชอนน้อย  ต.ชอนน้อย อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี เดินทางจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ขับผ่านจังหวัดสระบุรีมาจนถึงสามแยกพุแคให้เปลี่ยนไปใช้ทางหลวงหมายเลข 21 (กรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์) ขับไปเรื่อยๆ ผ่านช่องเขาขาดไปจนกว่าจะเจอสี่แยกไฟแดงบ้านเขาสูงแล้วก็เลี้ยวขวาขับต่อไปอีกประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาที่ทางหลวงชนบทหมายเลข 5049 จะพบทุ่งทานตะวันบ้านชอนน้อย
หมายเหตุ - ทุ่งทานตะวันทั้งสองแห่งสามารถชมได้ไม่เกินวันที่ 24 ธันวาคม 2553
สอบถามบริเวณพื้นที่ชมทุ่งทานตะวัน ได้ที่
ททท.สำนักงานลพบุรี โทร.0 3642 2768-9
หมวดหมู่: ธรรมชาติและกิจกรรมกลางแจ้ง, งานไม้ดอกไม้ประดับ


เทศกาลคาวบอยตะวันตก






     10 ธ.ค 2553 -11 ธ.ค 2553


ทศกาลความสนุก       ที่ใครหลายคนรอคอย ความตื่นตากับเหล่าคาวบอยตะวันตก ที่ชาวอำเภอปากช่องต่างแต้มสีสันในสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ การแสดง  การนิมิตเมืองปากช่องให้เป็นเมืองคาวบอยตะวันตก กิจกรรมที่ล้วนสร้างความสนุกสนานในความเป็นเทศกาล  หลากกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจ อาทิ การแสดงดนตรีในสไตล์คันทรี่  การแสดงคาวบอยไนท์ แอนด์ ซาวด์    การประกวดการแข่งขันโรดิโอ  การแสดงและจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก รวมถึงเกมส์และการละเล่นผจญภัยในแบบ มันส์ เสียว เปรี้ยว ซ่า เพราะว่า เขาใหญ่  กับราคาเพียง 500 บาท ต่อท่าน(เข้าชมงานได้ทั้ง 2 วัน) และที่สุดพิเศษและพลาดไม่ได้กับการแสดงดนตรีแบบเต็มวงจากศิลปิน นูโวและ อินคา (ในวันที่ 11 ธันวาคม 2553) และบอกได้คำเดียวว่า ใครไม่มาเที่ยว...เชย...
หมวดหมู่: อาหารและเครื่องดื่ม, ศิลปะและวัฒนธรรม, การถ่ายภาพ, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา, นิทรรศการ, งานแฟร์ และเทศกาล, ธรรมชาติและกิจกรรมกลางแจ้ง, งานไม้ดอกไม้ประดับ , เวิร์กช็อปและการฝึกอบรม, แฟชั่นและเครื่องแต่งกาย, ช้อปปิ้ง, ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์, ดนตรีและคอนเสิร์ต


เทศกาลอาหารย่าง ณ โคราช


25 พ.ย. 2553 - 1 ธ.ค. 2553
(12.00 - 12.00)



 

งานนี้ถือเป็นเทศกาลอาหารที่ใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน เทศกาลอาหารย่าง ณ โคราช ครั้งที่ 5 ประจำปี 2553 “BBQ Festival @ KORAT 2010”  โดยหอการค้าจังหวัดนครราชสีมาในฐานะผู้จัดงานสำหรับกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้น อาทิ  การเนรมิตพื้นที่ทั้งหมดให้เป็นเมืองคาวบอย และโซนชาวอินเดียนแดง การชุมนุมของคาวบอย & อินเดียนแดง  และที่พลาดไม่ได้กับเทศกาลครั้งนี้อาหารปิ้ง  ย่าง ที่ระดมสุดยอดอาหารหลากรส ซึ่ง      การันตีความอร่อย การแสดงดนตรีจากศิลปินที่มีชื่อเสียง  และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายตลอดการจัดงาน 
หมวดหมู่: อาหารและเครื่องดื่ม, ศิลปะและวัฒนธรรม, การถ่ายภาพ, ประเพณี และกิจกรรมทางศาสนา, นิทรรศการ, งานแฟร์ และเทศกาล, ธรรมชาติและกิจกรรมกลางแจ้ง, แฟชั่นและเครื่องแต่งกาย, ช้อปปิ้ง, ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์, ดนตรีและคอนเสิร์ต
โดยรถยนต์
รถยนต  จากกรุงเทพฯ เดินทางไปนครราชสีมาได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่นิยมที่สุดคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๑ (พหลโยธินแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๒ (มิตรภาพที่สระบุรี ไปจนถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ ๒๕กิโลเมตร
อีกเส้นทางคือ จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ ผ่านมีนบุรี ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม กบินทร์บุรี วังน้ำเขียว ปักธงชัย ถึงนครราชสีมา รวมระยะทางประมาณ ๒๗๓ กิโลเมตร
หรืออาจเลือกใช้เส้นทางรังสิต-นครนายก ต่อทางหลวงหมายเลข ๓๓ ไปกบินทร์บุรี แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๐๔ ผ่านวังน้ำเขียว ปักธงชัย เข้านครราชสีมา
โดยรถประจำทาง
รถโดยสารประจำทาง  บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ ออจาก
สถานีขนส่งหมอชิต ๒ ไปนครราชสีมาทุกวันและตลอดทั้งวัน รายละเอียดสอบถาม โทร๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ บริษัทเอกชนที่เปิดบริการเดินรถคือ บริษัท ราชสีมาทัวร์ โทร๐ ๔๔ ๒๔ ๕๔๔๓ กรุงเทพฯ โทร๐ ๒๙๓๖ ๑๖๑๕  บริษัทแอร์โคราชพัฒนา  โทร๐ ๔๔๒๕ ๒๙๙๙  กรุงเทพฯ โทร๐ ๒๙๓๖ ๒๒๕๒  และบริษัทสุรนารีทัวร์ โทร. 0 ๔๔๒๕  ๔๕๖๗ หรือ  www.transport.co.th
                   สถานีขนส่งที่นครราชสีมามีสองแห่งคือ สถานีขนส่งแห่งที่ ๑ ถนนบุรินทร์ โทร.๐ ๔๔๒๔ ๒๘๙๙๐ ๔๔๒๖ ๘๘๙๙ และสถานีขนส่งแห่งที่ ๒ ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น โทร๐ ๔๔๒๕ ๖๐๐๖-๙ ต่อ ๑๗๕๑๗๖ (รถปรับอากาศ), ๑๗๘ (รถธรรมดา)
โดยรถไฟ
รถไฟ  มีรถไฟออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพงไปนครราชสีมาทุกวัน รายละเอียดสอบถามที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร.  ๑๖๙๐๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐ หรือ www.railway.co.th